หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง |
ภาษาอังกฤษ: | Master of Science Program in Cosmetic Science |
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง) |
ชื่อย่อ : | วท.ม. (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง) | |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Master of Science (Cosmetic Science) |
ชื่อย่อ : | M.Sc. (Cosmetic Science) |
ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งสูตรตำรับ และการควบคุมการผลิตเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีคุณภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นสหวิทยาการที่เกี่ยวข้องทั้งวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ประยุกต์และศิลป์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมถึงการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านการผลิตเครื่องสำอางของไทยมีการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งศักยภาพของประเทศไทยยังเอื้อต่อการเติบโตของตลาดเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านมาตรฐานภาคการผลิตในระดับสูง คุณค่าของวัตถุดิบที่สามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมไปถึงความเป็นจุดศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นการเตรียมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางให้มีความเชี่ยวชาญและก้าวทันเทคโนโลยีด้านเครื่องสำอางที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หลักสูตรนี้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ คอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive constructivism) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร โดยเชื่อว่าการเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือ โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure) จะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) จึงถูกนำมาใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียน เผชิญกับสถานการณ์จริง ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของผู้สอนและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตให้มีศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ทั้งด้านการพัฒนา การผลิต การควบคุมคุณภาพเครื่องสำอางและนวัตกรรมด้านเครื่องสำอาง รวมถึงมีความรู้ด้านการตลาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางด้วยตนเองและสามารถบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและบูรณาการศาสตร์อื่นๆ รวมทั้งมีศักยภาพด้านการจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางในเชิงธุรกิจ มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพและจริยธรรมการวิจัย ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม
- นักวิจัยและพัฒนาในบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอาง
- ผู้ประกอบการทางด้านเครื่องสำอาง
- นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
- ผู้ให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและการผลิตเครื่องสำอาง
- อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- PLO1: มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพและการวิจัย
- PLO2: อภิปรายเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและพัฒนาเครื่องสำอาง รวมทั้งต่อยอดองค์ความรู้ในเชิงพาณิชย์
- PLO3: วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- PLO4: สามารถทำงานร่วมงานกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรม
- PLO5: สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและสื่อสารในเชิงวิชาการและการประกอบอาชีพ
- PLO6: มีทักษะการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเพื่อส่งเสริมธุรกิจเครื่องสำอาง
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง แผน ก 1 แผน ก 2 และ แผน ข จำนวน 4 ภาคการศึกษาในหลักสูตร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 220,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อหลักสูตร 55,000.- บาท
แผน ก1 | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิทยานิพนธ์ | 36 หน่วยกิต | ||
แผน ข | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 36 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) | |||
1. หมวดวิชาบังคับ | 31 หน่วยกิต | ||
2. หมวดการค้นคว้าอิสระ | 5 หน่วยกิต | ||
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง พ.ศ. 2564
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 9 ก.ค. 64