หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

หลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Cosmetic Science


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)
ชื่อย่อ : วท.บ. (วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Cosmetic Science)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Cosmetic Science)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตร
ตลาดเครื่องสำอางของไทยมีการเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเป็นสหวิทยาการอันประกอบด้วย ศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง การตลาด รวมถึงอุตสาหกรรมด้านการผลิตเครื่องสำอาง ดังนั้นการเตรียมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ให้มีความเชี่ยวชาญและก้าวทันเทคโนโลยีด้านเครื่องสำอางที่มีความก้าวหน้าตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หลักสูตรนี้นำทฤษฎีการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ แนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา (Cognitive Constructivism) มาเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร โดยเชื่อว่า การเรียนรู้หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง หรือ โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) จะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)  จึงถูกนำมาใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน  โดยเน้นให้ผู้เรียน เผชิญกับสถานการณ์จริง ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาด้วยตนเองผ่านการสนับสนุนของผู้สอนและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 

ดังนั้น หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางสำหรับการประกอบอาชีพ มีทักษะทางด้านการพัฒนา การผลิต และการควบคุมคุณภาพเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ มีความรู้ด้านการตลาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องสำอางได้อย่างเหมาะสม มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตและการทำงานในพหุวัฒนธรรมโดยผ่านกลไกในการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาการวิชาชีพแก่นักศึกษา มีทักษะในการพัฒนาความรอบรู้ด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความรู้ ความสามารถ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางมีความเข้าใจในการประกอบอาชีพ มีความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต การควบคุมคุณภาพเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ ที่บูรณาการองค์ความรู้ด้านการตลาดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องสำอางได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนมีกรอบความคิดการบริหารจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ 


จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรฯ ใหม่นี้ มีการปรับปรุงเนื้อหาสาระ คำอธิบายรายวิชา จำนวนหน่วยกิต ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการลงปฏิบัติในบริบทการประกอบอาชีพในธุรกิจเครื่องสำอางและผู้ประกอบการเครื่องสำอางจริง ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการองค์ความรู้และทักษะ โดยใช้องค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การทดสอบประสิทธิภาพ การประเมินประสิทธิผลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางด้วยเครื่องมือและเทคนิคทางเทคโนโลยีที่สนับสนุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแต่ละภาคการศึกษา โดยกิจกรรมการเรียนการสอนจะมุ่งให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติจริง เรียนรู้จากประสบการณ์ ผ่านการลองผิดลองถูก โดยมีการให้ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องผ่านกิจกรรมการเรียนเชิงรุกในรูปแบบที่หลากหลาย นอกจากที่ผู้เรียนจะเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างชัดเจน ผู้เรียนจะได้บูรณาการทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้เรียนมา ผ่านการทำงานจริงและฝึกประสบการณ์ร่วมกับวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม และธุรกิจดิจิทัล หลักสูตรใหม่นี้ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะและบุคลิกที่จำเป็นเป็นต่อการทำงานในอุตสาหกรรมธุรกิจดิจิทัล อันเป็นการสร้างผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับนวัตกรรมและธุรกิจดิจิทัลอย่างสมบูรณ์


ปรัชญาการศึกษา

สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการคิดอย่างสร้างสรรค์


แนวทางประกอบอาชีพ

  1. นักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางในสถาบันของรัฐและเอกชน 
  2. ผู้ประกอบธุรกิจทางเครื่องสำอาง เช่น การผลิตเครื่องสำอาง การผลิตสารสกัด การขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การขายวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือการสร้างแบรนด์ เป็นต้น
  3. ผู้ทำงานในภาคส่วนต่างๆ ของห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น การควบคุมคุณภาพ การผลิต การตลาด กฎหมายและฉลาก การสื่อสารกับผู้บริโภค เป็นต้น
  4. นักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง เช่น ผู้ให้คำปรึกษาด้านเครื่องสำอาง หรือผู้สอน 


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร

ผลลัพธ์การเรียนรู้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ย่อย

1. แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการ ความมีวินัยในตนเองและการมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

1.แสดงออกถึงความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการและความมีวินัยในตนเอง

2. แสดงออกถึงการมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

2.อภิปรายเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

3.อธิบายองค์ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

4.อภิปรายเชื่อมโยงความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

3.พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องผ่านการบูรณาการข้ามศาสตร์และกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีพ

5.ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาด้านเครื่องสำอางอย่างมีเหตุผล

วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และสร้างสรรค์

6. ประเมินผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยคำนึงถึงข้อกำหนด ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย

7.พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องผ่านการบูรณาการข้ามศาสตร์และกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีพ

4.แสดงออกถึงการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและความรับผิดชอบในทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อเอื้อให้เกิดความสำเร็จในการทำงานเป็นกลุ่มในสังคมพหุวัฒนธรรม

8. แสดงออกถึงการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

9.แสดงออกถึงความรับผิดชอบในทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อเอื้อให้เกิดความสำเร็จในการทำงานเป็นกลุ่มในสังคมพหุวัฒนธรรม

5. ประยุกต์ใช้ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า รวบรวม ประมวลผลและนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์

10.ประยุกต์ใช้ความรู้ทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา ค้นคว้า และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

11. สื่อสารความรู้ที่เกี่ยวข้องในบริบทต่างๆ ด้วยภาษาไทยภาษาจีนและภาษาอังกฤษให้แก่กลุ่มผู้ฟังที่หลากหลายได้

12. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า รวบรวม ประมวลผลและนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์

6. ประยุกต์แนวคิดทางการบริหารจัดการเพื่อการประกอบธุรกิจด้านเครื่องสำอาง

13 ประยุกต์แนวคิดทางการบริหารจัดการเพื่อการประกอบธุรกิจด้านเครื่องสำอาง


ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 280,000.- บาท
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 35,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 127 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี)  
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
     
2. หมวดวิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 17 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาชีพบังคับ 68 หน่วยกิต
  - กลุ่มวิชาชีพเลือก 6 หน่วยกิต
       
3. หมวดวิชาชีพเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
       


รายละเอียดของหลักสูตร/คู่มือนักศึกษา

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 ธ.ค. 65